Last updated: 28 ต.ค. 2567 | 10758 จำนวนผู้เข้าชม |
ระบบเครื่องจักรกลจอดรถอัตโนมัติ ( Mechanical Parking ) สามารถแบ่งออกตามลักษณะของการรองรับรถ ( Cars Suspense ) ได้ 2 ประเภทใหญ่ได้ดังนี้
1) ระบบรองรับรถด้วยถาด ( Pallet type )
2) ระบบรองรับรถโดยไม่ใช่ถาด ( Non-Pallet or Pallet less type )
โดยแต่ละประเภท มีลักษณะการใช้งานและข้อจำกัดแตกต่างกันดังนี้
1) ระบบรองรับรถด้วยถาด ( Pallet Type )
เป็นการออกแบบระบบรองรับรถให้จอดอยู่บนถาดรองรับ ( Pallet ) กลไกไม่มีอะไรซับซ้อน ผู้ใช้สามารถขับรถเข้ามาจอดด้วยตัวเองบนถาดที่จัดรองรับไว้ให้ ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องเครื่องจักรจะมาทำให้เกิดการขูดขีดกับยางหรือล้อแม็คหรือบังโคลน Skirt board หรือการจอดรถไม่ตรงกึ่งกลางแนวของเครื่องจักร จำเป็นต้องมีกลไลจัดแนวกึ่งกลาง ( Centering device ) หรือข้อกังวลเรื่อง เศษหิน หรือทราย กระเด็นมาโดนรถคันอื่น หรือป้องกันปัญหา นำ้มันเครื่อง นำ้มันเกียร์ หรือน้ำทิ้งจากระบบปรับอากาศ หยดลงมาสร้างความเสียหายกับรถคันที่อยู่ด้านล่าง เป็นต้น หมายถึงทุกอย่างจะหยดและสะสมอยู่บนถาดเท่านั้น ไม่สร้างความสกปรกเลอะเทอะกับรถคันที่อยู่ข้างล่างเครื่องจักรกลจอดรถอัตโนมัติ ประเภทนี้เป็นที่นิยมเนื่องจากการใช้งานและการบำรุงรักษาง่าย ไม่ซับซ้อน ทนทาน และมีความเชื่อถือสูง G-Park ใช้เครื่องจักรประเภทนี้ในระบบต่อไปนี้
ระบบยกและเลื่อน ( Lift and Slide ) มีผลงานที่แล้วเสร็จเป็นจำนวนมากหลากหลายโครงการ อาทิเช่น
โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4 จำนวน 100 คัน แล้วเสร็จมาตั้งแต่ปี 2556
คอนโด Than Living ประชาอุทิศ จำนวน 48 คัน ปี 2558
โรงพยาบาลพญาไทศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 150 คัน ในปี 2560 เป็นต้น
โครงการ ลดาวัลย์ พระราม 2 บ้านตัวอย่าง จำนวน 7 คัน แล้วเสร็จ 2560
โครงการไทยรัฐ (สำนักงานใหญ่) จำนวน 76 คัน แล้วเสร็จ 2561
โครงการ สำนักงานงาน BMW รัชดา จำนวน 11 คัน แล้วเสร็จ 2561
โครงการ Humble Living ซอยเฟื่องฟู จำนวน 12 คัน แล้ว้สร็จ 2561
โครงการ สำนักงานศาลยุติธรรม รัชดา จำนวน 360 คัน แล้วเสร็จ 2562
ส่วนในระบบ ยกและพาไปจอด ( Lift and Carrier ) หรือ Multi floor Parking ลงใต้ดิน หรือเป็นลักษณะอาคารสูง ( Tower Parking )
G-Park ได้พันธมิตรรายใหญ่ที่สุดและมีประสบการณ์สูงสุดสัญชาติเกาหลี บริษัท Dongyang Menics จำกัด
โครงการ The Bangkok ทองหล่อ 1 จำนวน 194 คัน เจ้าของโครงการบริษัท แลนด์แอนเฮ้าส์ จำกัด ( มหาชน )
โครงการ The Bangkok สุขุมวิท 38 จำนวน 79 คัน เจ้าของโครงการบริษัท แลนด์แอนเฮ้าส์ จำกัด ( มหาชน )
โครงการ The Siamese Exclusive Sukhumvit 31 จำนวน 86 คัน เจ้าของโครงการ บริษัท ไซมิส แอสเสท จำกัด
โครงการ The Siamese Exclusive QUEEN จำนวน 136 คัน เจ้าของโครงการ บริษัท ไซมิส ควีน จำกัด
2) ระบบรองรับรถโดยไม่ใช้ถาด ( Pallet less or Non Pallet Type )
เป็นการออกแบบระบบรองรับรถแบบไม่ใช้ถาดรองรับ แต่มีลักษณะการรองรับที่แตกต่างออกไป 3 ประเภทดังนี้
2.1 ระบบรองรถด้วยเหล็กเว้นระยะ ( Comb Exchange )
2.2 ระบบรองรับรถด้วยเครื่องจักรหนีบล้อ ( Gripper or Shifter )
2.3 ระบบรองรับรถด้วยเครื่องจักรนำทาง ( AGV. : Automated Guide Vehicle )
เนื่องจากระบบไม่มีถาดมีข้อย่อยอีก 3 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็มีข้อดีข้อเสีย ไม่เหมือนกัน จึงต้องแบ่งการพิจารณาออกตามประเภทดังนี้
1. ระบบรองรับรถด้วยเหล็กเว้นระยะ ( Comb Exchange ) ระบบนี้ไม่ใช่การใช้ถาดแต่ใช้เหล็กเว้นระยะเป็นที่รองรับล้อรถ
ข้อดีคือ มีชิ้นส่วนเครื่องจักรน้อยกว่า คือไม่มีถาด ( Pallet ) ทำให้ระบบมีนำหนักโดยรวมน้อยกว่า และมีความเร็วในการ
รับและเรียกรถเร็วได้สั้นกว่า เนื่องจากไม่จำเป็นต้องนำถาดที่ว่างไปเก็บก่อนนั้นเอง อีกทั้งมีระยะความสูงของชั้น ( Floor to Floor ) เตี้ยกว่าระบบถาดประมาณ 50-100 mm.
ข้อเสีย ที่จะต้องป้องกันคือ เครื่องจักรที่ใช้ในการทำงานรับส่งรถ ( Carts – Robot – Carrier ) มีความซับซ้อน เพราะทำหน้าที่ 4 ลักษณะในเวลาเดียวกันกล่าวคือ
1) รับ – ส่งรถ ( In & Out Transfer Traveling )
2) เคลื่อนที่ส่งรถซ้ายและขวา ( L & R Traveling )
3) ยกขึ้น - ลง ( Up & Down Traveling )
4) จัดการจอด ให้อยู่ในแนวกึ่งกลาง ( Centering device ) โอกาสเสียหายชำรุดสูงกว่าระบบถาด ซึ่งมีกลไกการทำงานเพียงข้อ 1-2 เท่านั้น เนื่องจากมีชิ้นส่วนเครื่องที่น้อยกว่านั้นเอง
อีกประการคือ กลไกการทำงานรับส่งรถ ( Carts-Robot – Carrier ) จะต้องได้รับการออกแบบมาอย่างดีจึงจะไม่มีปัญหาการใช้งาน มีสินค้าหลากหลายแหล่งที่มา ออกแบบไม่แข็งแรงเพียงพอ เกิดปัญหาความล้าในเนื้อวัสดุ เพราะต้องรับน้ำหนักมากและทำงานซ้ำๆจนเกิดปัญหาเสียหายเพราะความล้าในวัสดุ ( Fatigue Failure )
และที่ตามมาอีกประการคือ ความทนทานของการออกแบบเครื่องจักรซึ่งพบมีปัญหามากในเครื่องจักรประเภทนี้ จึงพบปัญหาติดขัดในเครื่องจักรประเภทนี้อยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากเครื่องจักรไม่มีคุณภาพ และการดูแลบริการหลังการขายที่ไม่ได้มาตราฐาน
ข้อจำกัดอีกประการที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือการกระทบกันของล้อแม็คและยางเนื่องจากเครื่องประเภทนี้ต้องการการจอดรถที่ได้กึ่งกลาง จึงจะทำงานได้ อีกทั้งปัญหาการตกหล่นของหิน ทราย น้ำฝน และน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำทิ้งจากระบบปรับอากาศ จะสร้างปัญหาให้เกิดกับระบบในระยะยาวหากไม่ได้รับการดูแลจัดการที่ดี
สินค้าของ G-Park สำหรับระบบ Pallet less – Non Pallet on Comb Exchange นั้น เราไว้วางใจ YEE-FUNG จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องจักรจอดรถอัตโนมัติในระบบอัตโนมัติรายใหญ่ที่สุดของจีน และบริษัทยังมีผลงานโครงการใหญ่ ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ ในปี 2560 จำนวน 296 คัน ที่ เจ้าของโครงการ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน ) ที่ โรงพยาบาล กรุงเทพ สำนักงานใหญ่ ซ.ศูนย์วิจัย กรุงเทพมหานคร อีกด้วย
2. ระบบรองรับรถด้วยเครื่องจักรหนีบล้อ ( Gripper or Shifter )
เป็นระบบที่ไม่มีอุปกรณ์รองรับ ส่วนมากล้อรถยนต์จะวางอยู่บนคอนกรีต โดยมีเครื่องจักรรับส่งรถ ( Carts-Robot-Carrier ) ทำหน้าที่เข้ามาหนีบล้อและยกล้อรถขึ้นทั้ง 4 ล้อ ยกรถขึ้นทั้งคัน และพาไปจอดตามตำแหน่งที่กำหนด เป็นเครื่องจักรที่มีซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากระบบการควบคุมแขนกล ( Arm or Gripper ) มีระบบการควบคุมที่ยุ่งยากและซับซ้อน อีกทั้งยังมีแบตเตอรี่ เข้ามาช่วยการทำงานอีกด้วย เป็นระบบ Mechatronic สมบูรณ์แบบ อีกทั้งระบบจัดกึ่งกลางมีความซับซ้อนขึ้นมาอีก ระบบนี้จึงต้องการผู้ผลิตที่มีความชำนาญอย่างแท้จริง ยี่ห้อหรือบริษัทที่ไม่มีผลงานที่เชื่อถือได้ จะมีปัญหาการใช้งานและบำรุงรักษาแน่นอน ข้อดีคือระยะห่าง Floor to Floor เตี้ยที่สุด สำหรับรถเก๋งทั่วไป ระบบนี้ต้องการ F-F เพียง 1,650 mm เท่านั้น ส่วนความเร็วขึ้นกับยี่ห้อและบริษัทผู้ผลิตแต่ละรายจะทำได้
ซึ่งสินค้าประเภทนี้ G-Park เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าของ Lodige , Germany ซึ่งมีผลงานที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ที่ DOKK1 เมือง Aarhus ประเทศเดนมาร์ก มาแล้วกว่า 1,000 คัน บริษัทยินดีเชิญชวนไปเยี่ยมชมประสิทธิภาพได้ตลอดเวลา
3. ระบบรองรับรถด้วยเครื่องจักรนำทาง ( AGV. : Automated Guide Vehicle )
ระบบนี้เป็นเทคโนโลยี่ใหม่ล่าสุด เป็นการใช้ Full Automatic Guide Vehicle นำทางด้วยระบบเลเซอร์ รถจะถูกนำไปจอดและเรียกกลับมาอย่างอัตโนมัติโดยไม่มีเครื่องจักรในการนำพา และทางวิ่งด้วยเครื่องจักรกล ทำงานเงียบที่สุด ระยะห่างระหว่างชั้น F-F เตี้ยที่สุดเพียง 1,650 mm. เท่านั้น ระบบนี้เหมาะที่สุดสำหรับพื้นที่จอดรถที่ไม่สมมาตร เช่น เป็นสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมคางหมู หรือพื้นที่แบบต่างๆที่มีลักษณะใกล้เคียง จะทำให้สามารถจอดรถได้มีประสิทธิภาพการใช้พื้นที่สูงสุด
ในระบบนี้ G-Park ทำงานร่วมกับ YEE–FUNG ผู้ผลิตเครื่องจักรกลจอดรถอัตโนมัติรายแรกและรายใหญ่ที่สุดเพียงรายเดียว หากลูกค้าสนใจสามารถติดต่อ G-Park เพื่อเดินทางไปเบี่ยมชมโรงงานและโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จได้ทันทีเช่นกัน
โดยทั้ง 2 ระบบที่กล่าวมานั้น มีการปรับปรุงพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและต่างก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ตามลักษณะการใช้งาน ตามความเหมาะสมของการใช้งาน ราคาที่แตกต่างกันตามปัจจัยความต้องการของผู้ใช้งาน เป็นต้น G-Park ผู้เชี่ยวชาญระบบเครื่องจักรกลจอดรถอัตโนมัติ ได้ทำการศึกษาและให้ความสนใจทั้งสองระบบ ได้ดำเนินการคัดเลือกพันธมิตร และเทคโนโลยี่ที่เหมาะสมกับบ้านเรา ตลอดจนการใช้งานที่สะดวก ไม่ยุ่งยาก มีความเสถียร เชื่อถือได้ ตลอดจนการให้บริการหลังการขายที่ประหยัด มีความทนทานต่อการใช้งาน ค่าใช้จ่ายในการใช้งานและการบำรุงรักษาต่ำ
25 พ.ย. 2565
9 พ.ย. 2565
16 พ.ค. 2566
21 มี.ค. 2566