คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

เมื่อไม่สามารถทำที่จอดรถแบบปกติ (conventional) ได้ และมีสัดส่วนพื้นที่จอดรถไม่เพียงพอรองรับจำนวนรถยนต์ที่ต้องการจอด

1. ความต้องการใช้ที่จอดรถและลักษณะรถยนต์ที่ต้องการจอด เช่น SUV, Sedan
2. กำหนดจำนวนที่จอดรถให้สอดคล้องกับที่กฎหมายกำหนด
3. พื้นที่ที่จะติดตั้ง - มีการศึกษา วางแบบ และเลือกระบบจอดรถอัตโนมัติที่เหมาะสมกับรูปแบบพื้นที่และการใช้งาน
4. การจัดการจราจรที่เหมาะสม เนื่องจากระบบจอดรถอัตโนมัติต้องจัดให้มีพื้นที่พักคอยสำหรับรถที่รอเข้าจอด จึงต้องมีการวางแผนการจราจรโดยผู้เชี่ยวชาญ
5. งบประมาณ - เตรียมงบประมาณให้เหมาะสมกับจำนวนช่องจอด และระบบที่เลือกใช้
6. ปรึกษาผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการออกแบบ ติดตั้งระบบ เพื่อให้ได้เครื่องจักรจอดรถอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับความต้องการและมาตรฐาน 

ปัจจุบัน มาตรฐานที่จอดรถที่ใช้สากลคือ

1. VDI 4466 Automatic Parking Systems Basic Principles
2. VDI 3581 Availability of transport and storage systems including subsystems and elements
3. DIN EN 14010 Safety of machinery Equipment for Power-driven parking of motor vehicles Safety and EMC requirements for design, manufacturing, erection, and commissioning stages
4. Technical Standards and Explanations for Mechanical Parking Lots 2017 Edition (Japan)

สำหรับประเทศไทยปัจจุบัน กำลังมีการจัดทำมาตรฐานระบบเครื่องจักรกลจอดรถอัตโนมัติ
โดยสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาเครื่องกลและไฟฟ้าไทย (MECT) คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2567

ระบบ Mechanical Parking มี 2 ประเภทใหญ่ได้ดังนี้

1. ระบบรองรับรถด้วยถาด ( Pallet type )


                       เป็นการออกแบบระบบรองรับรถให้จอดอยู่บนถาดรองรับ ( Pallet ) กลไกไม่มีอะไรซับซ้อน ผู้ใช้สามารถขับรถเข้ามาจอดด้วยตัวเองบนถาดที่จัดรองรับไว้ให้ ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องเครื่องจักรจะมาทำให้เกิดการขูดขีดกับยาง ล้อแม็คหรือบังโคลน Skirt board ป้องกันปัญหา น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ หรือน้ำทิ้งจากระบบปรับอากาศ หยดลงมาสร้างความเสียหายกับรถคันที่อยู่ด้านล่าง ประเภทนี้เป็นที่นิยมเนื่องจากการใช้งานและการบำรุงรักษาง่าย ไม่ซับซ้อน ทนทาน
2. ระบบรองรับรถโดยไม่ใช่ถาด ( Non-Pallet or Pallet less type )


                       เป็นการออกแบบระบบรองรับรถแบบไม่ใช้ถาดรองรับ กลไกการทำงานรับส่งรถ ( Carts-Robot – Carrier ) ออกแบบไม่แข็งแรงเพียงพอ เกิดปัญหาเพราะต้องรับน้ำหนักมากและทำงานซ้ำๆจนเกิดความเสียหายเพราะ ( Fatigue Failure ) และหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการกระทบกันของล้อแม็คและยาง อีกทั้งปัญหาการตกหล่นของหิน ทราย น้ำฝน และน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำทิ้งจากระบบปรับอากาศ จะสร้างปัญหาให้เกิดกับระบบในระยะยาวหากไม่ได้รับการดูแลจัดการที่ดี

แต่มีลักษณะการรองรับที่แตกต่างออกไป 3 ประเภทดังนี้
2.1 ระบบรองรถด้วยเหล็กเว้นระยะ ( Comb Exchange )
2.2 ระบบรองรับรถด้วยเครื่องจักรหนีบล้อ ( Gripper or Shifter )
2.3 ระบบรองรับรถด้วยเครื่องจักรนำทาง ( AGV. : Automated Guide Vehicle)

 ข้อดี มีชิ้นส่วนเครื่องจักรน้อยกว่า คือไม่มีถาด ( Pallet ) ทำให้ระบบมีนำหนักโดยรวมน้อยกว่า และมีความเร็วในการรับและเรียกรถเร็วได้สั้นกว่า อีกทั้งมีระยะความสูงของชั้น ( Floor to Floor )
เตี้ยกว่าระบบถาดประมาณ 50-100 mm.

 ข้อเสีย  ที่จะต้องป้องกันคือ เครื่องจักรที่ใช้ในการทำงานรับส่งรถ ( Carts – Robot – Carrier ) มีความซับซ้อน เพราะทำหน้าที่ 4 ลักษณะในเวลาเดียวกันกล่าวคือ

1. รับ – ส่งรถ ( In & Out Transfer Traveling )
2. เคลื่อนที่ส่งรถซ้ายและขวา ( L & R Traveling )
3. ยกขึ้น - ลง ( Up & Down Traveling )
4. จัดการจอด ให้อยู่ในแนวกึ่งกลาง (Centering device) โอกาสเสียหายชำรุดสูงกว่าระบบถาด ซึ่งมีกลไกการทำงานเพียงข้อ 1-2 เท่านั้น เนื่องจากมีชิ้นส่วนเครื่องที่น้อยกว่านั้นเอง

  เครื่องจักรจอดรถอัตโนมัติที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน

  สนใจติดต่อฝ่ายขาย Tel: 02-954-7488

                    ปัจจุบัน มีผู้จำหน่ายเครื่องจักรจอดรถอัตโนมัติมากมาย ทั้งจากประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น เยอรมนี ซึ่งผู้ผลิตแต่ละรายก็มีมาตรฐานที่แตกต่างกัน ผู้ซื้อจึงควรพิจารณามาตรฐานการผลิตสินค้า ความน่าเชื่อถือ และที่สำคัญคือการบริการหลังการขายเป็นหลัก

                    โดยทั่วไปเครื่องจักรจอดรถจะมีอายุการใช้งานประมาณ 15-20 ปี ขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษา แต่หากโครงการมีการติดตั้งเครื่องจักรที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ได้ติดตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญ อาจทำให้อายุการใช้งานน้อยกว่าที่ควรจะเป็น

การคำนวณประสิทธิภาพของระบบสามารถคำนวณ
 
1.       การคำนวณประสิทธิภาพของระบบ system performance ตามมาตรฐาน standard VDI4466 ,VDI 3581 และ JIS B.9991
2.       ความสามารถในการให้บริการสถานที่จอดรถแบบปกติ และเครื่องจักรกลจอดรถอัตโนมัติ (P/F Factor)
3.       คำนวณเวลาในการเข้าจอดและนำรถออก ( SL f/ SL e/ SL u) : Performance Characteristic : filling and Emptying time )
4.       คำนวณระดับของประสิทธิภาพให้บริการ (Fz : performance level indicator)
5.       คำนวณค่าการสลับสับเปลี่ยนการใช้ช่องจอด (TR rate : Parking Turnover rate car/slot/hr)
 
  ปัจจุบัน G-Park มีบริการให้คำปรึกษาและคำนวณประสิทธิภาพของระบบ โดยสามารถติดต่อ Tel: 02-954-7488
   
                   

                    ต้องการสินค้าถูกแนะนำเป็น รุ่น Stack  Parking / Puzzle Parking เครื่องจักรจอดรถอัตโนมัติจากประเทศจีน แต่ต้องแลกมาด้วยราคางานซ่อมบำรุงรักษาในอนาคต เลือกจ่ายเพิ่มอีกหน่อยเป็นสินค้าจากประเทศญี่ปุ่น คุ้มกว่าแน่นอน

                   การซื้อเครื่องจักรราคาถูกอาจเป็นการช่วยลดต้นทุนค่าก่อสร้างโครงการ หากแต่เมื่อพิจารณาถึงปัญหาที่จะตามมาแล้ว จะพบว่าเครื่องจักรราคาถูกจะมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมและบำรุงรักษาที่สูงกว่าเครื่องจักรที่ได้มาตรฐาน ผู้ซื้อจึงควรพิจารณาข้อมูลประมาณการค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนอะไหล่ ซ่อม และบำรุงรักษาด้วย ซึ่งเมื่อพิจารณาในระยะยาว การซื้อสินค้าที่มีคุณภาพแต่ราคาสูงกว่า จะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงได้มาก และมีค่าใช้จ่ายโดยรวมตลอดอายุการใช้งานต่ำกว่า

จากกราฟแสดงให้เห็นว่าหลังจาก ปีที่6 ค่าใช้จ่ายงานบำรุงรักษาเครื่องจักรจากประเทศญี่ปุ่นต่ำกว่าประเทศเกาหลี 

                    ค่าใช้จ่ายในส่วนการออกแบบระบบ การออกแบบระบบจัดการจราจร คำนวณประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล จะอยู่ที่ประมาณ 0.5 – 1% ของมูลค่าโครงการ

                   บริษัทที่มีความรู้และมีประสบการณ์จริงผ่านงานออกแบบ ติดตั้ง ซ่อมบำรุง เครื่องจักรกลจอดรถอัตโนมัติโดยเฉพาะจะสามารถออกแบบได้ตามความต้องการของลูกค้าได้ทันที ไม่เสียเวลาแก้ไขแบบหลายครั้ง อย่าทำเอง โดยไม่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ ปัญหาจะตามมาเพียบ

                    หลายๆโครงการอาจเกิดปัญหาระบบใช้งานไม่ได้ หรือใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพหลังติดตั้ง ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุเช่น ใช้สินค้าไม่มีคุณภาพ ผู้ติดตั้งขาดความชำนาญ เป็นต้น ในกรณีนี้อาจจำเป็นต้องติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องจักรจอดรถอัตโนมัติ เพื่อให้เข้าตรวจสอบ วิเคราะห์สาเหตุ ปรับปรุงแก้ไขระบบ และอาจต้อง Modify เครื่องจักร โดยเจ้าของโครงการควรป้องกันปัญหานี้โดยการเลือกสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และมีทีมงานติดตั้งพร้อมบำรุงรักษาที่เชี่ยวชาญ

                     เครื่องจักรจอดรถอัตโนมัติ ควรมีทีมงานบริการหลังการขายที่เชี่ยวชาญ ให้บริการตลอด 24 ชม เมื่อเกิดเหตุขัดข้องสามารถเข้าแก้ไขได้ทันที เพื่อให้ระบบใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพยาวนาน ทั้งนี้เมื่อติดตั้งใช้งานเครื่องจักรแล้ว ควรจัดให้มีมีการบำรุงรักษาระบบอย่างน้อง 2-3 เดือน / ครั้ง เพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและเป็นการยืดอายุการใช้งานเครื่องจักร

เมื่อเกิดเหตุขัดข้องไม่ควรแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง เนื่องจากอาจจะทำให้ระบบขัดข้องหนักกว่าเดิม ควรปฏิบัติตามดังนี้

1.  กดปุ่มหยุดฉุกเฉินทันที และหยุดใช้งานเครื่องจักรจอดรถอัตโนมัติทันทีที่พบปัญหา
2.  ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อแจ้งปัญหาที่พบเพื่อให้เข้าดำเนินการแก้ไข


แผนกบริการหลังการขายของ G-Park สามารถติดต่อได้ที่  Tel: 096-960-1341  

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้